รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2563-2564

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการมอบรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลอาคารอันทรงคุณค่าให้เป็นที่รู้จักและได้รับการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ของสังคมโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้กับผู้ครอบครองดูแลรักษาอาคาร จากการที่ได้รับพระราชทานรางวัลจากองค์อุปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยามฯ มาอย่างต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบัน ที่ผ่านมาในแต่ละปีประเภทของรางวัล หลักเกณฑ์ในการพิจารณา และวิธีการดำเนินการคัดเลือกอาคารรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น อาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างด้วยเหตุผลความจำเป็นตามสถานการณ์ด้านการอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ จากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมที่ผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่ตามวาระ

จากการที่ชื่อของรางวัลคือ “รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น” ซึ่งมีนัยว่าอาคารที่ได้รับรางวัลนี้คืออาคารที่มีการอนุรักษ์มาเป็นอย่างดี จึงเท่ากับเป็นการสื่อให้เห็นว่าในบรรดาอาคารที่ได้รับรางวัลนี้มาทั้งหมดล้วนแต่มีความดีเด่นในเรื่องของการอนุรักษ์อาคารอย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ในทางปฏิบัตินั้นนอกจากได้มีการมอบรางวัลแก่อาคารที่มีการอนุรักษ์อย่างดี ก็ยังได้มอบรางวัลให้แก่อาคารที่มีคุณค่าแต่มีความเสี่ยงที่จะถูกรื้อทำลายไปด้วยความไม่ตระหนักถึงคุณค่าของผู้ที่ครอบครองดูแลอยู่ หรือเป็นการให้รางวัลแก่อาคารที่ยังมิได้มีการอนุรักษ์อย่างเต็มรูปแบบ แต่มุ่งหวังว่าเมื่อได้รับรางวัลแล้วจะนำไปสู่กระบวนการในการอนุรักษ์ต่อไปด้วย จึงปรากฏว่ามีโครงการอนุรักษ์ที่ดีหลายโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการดำเนินการอนุรักษ์อาคารนั้นจะไม่มีโอกาสได้รับกำลังใจจากรางวัลนี้ เนื่องจากเป็นอาคารที่เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นมาแล้ว นอกจากนี้ในข้อเท็จจริงก็ยังมีงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคุณค่าของมรดกทางศิลปสถาปัตยกรรมแต่ยังไม่เข้าข่ายการพิจารณาให้รางวัลมาก่อนด้วย เช่น การประยุกต์การใช้สอยที่มีการต่อเติมอาคาร หรือการก่อสร้างอาคารใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกันกับอาคารอนุรักษ์

ด้วยข้อมูลความเป็นมาข้างต้น ในวาระของปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ทางสมาคมฯ จึงได้มีการ “มองเก่า ให้ใหม่” ปรับปรุงเกณฑ์การพิจารณาการมอบรางวัลให้เข้ากับความต้องการในปัจจุบันอีกครั้งโดยได้กำหนดให้มีการแบ่งรางวัลออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน
ประเภท ข. งานออกแบบใหม่ในบริบทการอนุรักษ์
ประเภท ค. บุคคลและองค์กรอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น

เกณฑ์การให้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ในประเภท ก. ประจำปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ได้มีการปรับปรุงจากเกณฑ์การให้รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นเดิม และเกณฑ์การให้รางวัล 2019 UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation โดยมีการแบ่งรางวัลออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับดีเยี่ยม ระดับดีมาก ระดับดี และระดับสมควรได้รับการเผยแพร่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่การมอบรางวัลเป็นรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นระดับเดียวเท่ากันหมด และได้มีการเพิ่มประเภทรางวัลประเภท ข. สำหรับงานออกแบบใหม่ในบริบทการอนุรักษ์เป็นรางวัลใหม่ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับการนำผลการตัดสินรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ในนิทรรศการ “มองเก่า ให้ใหม่” อันสืบเนื่องมาจากงานสถาปนิก ๖๔ ในครั้งนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติต่อเนื่องกันมาด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการนำเสนอมุมมองการถ่ายทอดคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ของสถาปนิกนักถ่ายภาพ ๙ ท่าน ผ่านผลงานการถ่ายภาพที่ไม่จำกัดเทคนิคของสถาปนิกรับเชิญแต่ละท่าน จึงเรียกว่าเป็น นิทรรศการภาพถ่ายรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

ข้อกำหนดและเกณฑ์การพิจารณารางวัล

 

 

ระดับดีมาก

1905 เฮอร์ริเทจ คอนเนอร์ กรุงเทพมหานคร

ช่างภาพ ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์

 

 

บ้านขุนพิทักษ์รายา จังหวัดปัตตานี

ช่างภาพ อภินัยน์ ทรรศโนภาส

 

 

ระดับดี

 

 

บ้านหลวงสาทรราชายุกต์ กรุงเทพมหานคร

ช่างภาพ ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์

 

 

 

 

 

ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่

บ้านหลวงประเทืองคดี จังหวัดพิจิตร

ช่างภาพ วศิน ภุมรินทร์

 

 

โรงแรมไมอามี่ กรุงเทพมหานคร

ช่างภาพ อภินัยน์ ทรรศโนภาส

 

 

 

 

เก๊าไม้ เอสเตท 1955 (Kaomai Estate 1955)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา :  virtualexpo.asa.or.th